วันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

อะไรคือระบบ IP-PBX

IP-PBX เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมโยง,ควบคุม เครื่องโทรศัพท์ในระบบ และทำหน้าที่หลักของตู้ชุมสายโทรศัพท์

(เช่นระบบ Voicemail, IVR, Auto-Attendant) ในการสื่อสารทางเสียงผ่านระบบเครือข่าย intranet หรือ internet.

โดยการทำงานของ IP-PBX นั้นจะทำหน้าที่เหมือน ตู้ชุมสาย PABX โดยจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการทำงาน เช่น

การ Route Call ไปยังปลายทาง

หากแต่ IP-PBX นั้นจะทำงานผ่านระบบ IP หรือ ระบบ computer network (LAN/WAN) เป็นหลัก

ฉะนั้นในการส่งเสียงไปยังปลายทางจำเป็นต้อง ส่งผ่านระบบ Computer Network โดยเสียงที่จะส่งจะต้องถูกแปลงไปเป็น รูปแบบ digital โดยอุปกรณ์ VoIP ที่สามารถส่งสัญญาณผ่านระบบ network ได้ ก่อนที่จะถูกแปลงเป็นสัญญาณเสียงอีกครังที่อุปกรณ์ปลายทาง



โดยอุปกรณ์ที่จะต้องนำมาใช้งานกับ ตู้สาขา IP-PBX นั้นจะต้องเป็นอุปกรณ์ที่รองรับการทำงานแบบ VoIP ซึ่งมีได้ดังนี้

1. IP-Phone หรือ เครื่องโทรศัพท์ระบบ IP
2. ATA หรือ เครื่องแปลงสัญญาณ VoIP ให้เป็นสัญญาณ Voice Analog
3. Softphone หรือ โปรแกรมโทรศัพท์ที่สามารถติดตั้งได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์
4. etc.

ประโยชน์และข้อดี

1. ง่ายต่อการติดตั้ง, เนี่องด้วยการทำงานของ IP-PBX นั้น ต้องทำงานบนระบบ network ฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเดินสายโทรศัพท์เพิ่มเติม อีกทั้งยังสามารถทำการ ย้ายเครื่องโทรศัพท์ไปยังตำแหน่งใดๆก็ได้ที่อยู่บนระบบเครือข่ายเดิมโดยไม่ ต้องเปลี่ยนแปลงค่าอะไรเลยบนเครื่องโทรศัพท์และระบบเครือข่าย หากมีระบบ wireless-lan อยู่ในระบบเครือข่ายก็ยังสามารถเชื่อมต่อกับระบบ wireless ที่มีอยู่ได้โดยง่าย (wifi phone)

2. การเพิ่ม phone ทำได้โดยง่าย เนื่องด้วยทำงานบนระบบ network ฉะนั้นการเพิ่มหัวเครื่องโทรศัพท์จึงเหมือนการติดเครื่อง PC ใหม่ในระบบเท่านั้น จะไม่ตายตัวกับจำนวนพอร์ทบนตู้ชุมสายเหมือนในระบบ legacy-PABX ทั้งนี้การเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับเครื่อง IP-PBX ด้วยว่าสามารถรองรับการทำงานได้เพียงพอหรือไม่

3. ประโยชน์ของระบบ internet และ intranet ระบบ IP-PBX ได้รับประโยชน์โดยตรงจากระบบเครือข่าย คือ หากมีการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายเข้าด้วยกันแล้วนั้น ไม่ว่าเครื่องโทรศัพท์จะอยู่ในที่แห่งใดๆในระบบ ก็เสมือนว่าอยู่ในระบบโทรศัพท์เดียวกัน การโทรศัพท์จึงเป็นไปได้โดยง่าย และ ไม่มีค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์บนระบบ IP-PBX เดียวกันไม่มีจะอยู่ในที่ใดๆก็ตาม

4. รอบรับระบบ Video Call, สามารถรองรับการโทรศัพท์แบบเห็นภาพได้ทันทีหากมีอุปกรณ์ที่รองรับในทั้งสอง คู่สนทนา

5. รองรับการเชื่อมต่อกับระบบ Database, ระบบ Computer. เนื่องด้วย IP-PBX ส่วนใหญ่เป็น software ฉะนั้นการเพิ่มเติม feature ต่างๆ จึงเป็นไปได้โดยง่าย ฉะนั้น Application ต่างๆที่เป็นไปไม่ได้หรือเป็นไปได้ยากบนระบบ legacy-pbx จึงสามารถทำได้บนระบบ IP-PBX

6. การ maintenance สามารถทำได้ง่ายกว่าระบบ legacy-pabx ทั่วไปในกรณีที่ IP-PBX นั้นๆทำงานบน server

7. รองรับระบบ High Availability เพื่อลดเวลาที่ระบบจะเกิดปัญหาและต้องหยุดให้บริการ

8. สามารถเชื่อมต่อให้กับผู้ให้บริการ VoIP-Operator ได้โดยตรงเพื่อทำให้สามารถโทรศัพท์ไปยังระบบโทรศัพท์ได้ในราคาที่ประหยัด กว่ามาก

9. รองรับอนาคตสามารถทำงานร่วมกันในทั้งระบบ Voice/data/Video


ข้อด้อยหรือซี่งที่จะต้องมีเพิ่มเติมในระบบ

1. ราคาอุปกรณ์ที่สูงกว่าระบบเดิมๆ

2. จำเป็นต้องมีระบบเครือข่าย

3. จำเป็นต้องมีการ config ระบบเครือข่ายเพิ่มเติมในกรณีที่มี ข้อมูลวิ่งอยู่บนระบบมากๆเพื่อทำให้มั่นใจว่าคุณภาพเสียงจะไม่มีปัญหา

4. จำเป็นต้องใช้ไฟในทุกหัวเครื่องโทรศัพท์ ฉะนั้นอาจมีปัญหาในกรณีที่มีไฟฟ้าดับ ซึ่งแก้ปัญหาได้โดยใช้อุปกรณ์เครือข่ายที่สามารถจ่ายไฟฟ้าไปยังหัวเครื่อง ได้


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก